วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สรุปการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

สรุปการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครั้งนี้ไม่ตรงกับสาขาวิชาโดยตรง ในการฝึกปฏิบัติงานส่วนใหญ่ มีการใช้โปรแกรม Microsoft office และ ระบบ Oracle ขององค์กร แต่ไม่ได้เจาะลึกเข้าไปในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์


ประโยชน์ที่ได้รับ
-มีความกล้าแสดงออกในการติดต่องาน
-มีความรับผิดชอบในหน้าที่
-ทราบถึงวิธีการทำงานได้อย่างเป็นระบบ
-สามารถแก้ปัญหาในการทำงานได้
-ได้รับเกร็ดความรู้และสาระในเรื่องต่างๆ ในการปฏิบัติงาน


สิ่งที่หลักสูตรควรปรับแก้ไข
-

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 18 ( 28กุมภาพันธ์ 2554)

การปฏิบัติงาน
- ถ่ายเอกสารใบสั่งซื้อ PO จำนวน 2 ฉบับและนำต้นฉบับส่งคืน ณ. แผนกบัญชี
- ถ่ายเอกสารใบขอสั่งซื้อทรัพย์สิน CAPEX จำนวน 3 ฉบับ และนำต้นฉบับส่งคืน ณ. แผนกสำนักงานผู้บริหาร
- ถ่ายภาพทรัพย์สินโอนคืน ได้แก่ ตู้เก็บเอกสาร ณ. ห้องผู้อำนวยการโรงพยาบาล
- รับทรัพย์สินโอนคืน ได้แก่ เครื่องขูดหินปูน 3 เครื่อง ณ. แผนกทันตกรรม พร้อมถ่ายภาพทรัพย์สิน
- นำเอกสารใบโอนคืนทรัพย์สิน นำไปถ่ายภาพทรัพย์สิน ณ. แผนกเวชสถิติ

ปัญหา
- ไม่สามารถถ่ายภาพทรัพย์สิน ณ. แผนกเวชสถิติได้ เนื่องจากทรัพย์สินถูกย้ายไปแล้ว

การแก้ไขปัญหา
- ทรัพย์สินถูกเก็บไว้ ณ. แผนกแม่บ้าน จึงสามารถตามไปถ่ายภาพได้

ประโยชน์
-มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
-มีการแก้ปัญหาในการทำงานได้เป็นอย่างดี

วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 17 ( 21-25 กุมภาพันธ์ 2554)

การปฏิบัติงาน
- นำทรัพย์สินเก็บ ณ. สต๊อก ชั้น 18 ได้แก่ โทรศัพท์, เครื่องโทรสาร และ Chartผู้ป่วย
- นำเอกสารของหน่วยงานใส่ซอง จัดส่งไปยัง แผนกบริหารทรัพย์สิน โรงพยาบาลพญาไท 2 จำนวน 3 ฉบับ
- ถ่ายภาพทรัพย์สิน ณ. สต๊อก ชั้น 18 ได้แก่ โทรศัพท์, เครื่องโทรสาร และ Chartผู้ป่วย
- นำโทรศัพท์ พร้อมเอกสารโอนคืนทรัพย์สินส่ง ณ. แผนกวิศวกรรมเพื่อนให้หัวหน้าหน่วยงานประเมินสภาพ
- พาลูกค้่าที่ประมูลทรัพย์สินเพื่อดูทรัพย์สิน ณ. แผนกวิศวกรรม

ปัญหา
- ไม่พบปัญหา

ประโยชน์
- ได้มีความกล้าแสดงออกในการพาผู้ประมูลทรัพย์สินตรวจดูทรัพย์สิน
- มีความรอบครอบในการทำงาน
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพสัปดาห์ที่ 16 ( 14 - 17 กุมภาพันธ์ 2554 )

การปฏิบัติงานฃ
- ถ่ายภาพทรัพย์สินโอรคืน ณ.แผนก QMS ได้แก่ โต๊ะคอมพิวเตอร์, โต๊ะทำงาน และ ตู้เก็บเอกสาร
- นำเอกสารใบขอสั่งซื้อ CAPEX ส่งให้ห้องคลอด แผนก ART เซ็นกำกับการแก้ๆไขเอกสาร พร้อมลงวันที่
- นำเอกสารใบโอนย้ายทรัพย์สิน ส่ง ณ. แผนกศูนย์ผู้มีบุตรยาก และ แผนกการตลาด ให้หัวหน้าหน่วยงานและ ผู้อำนวยการบริหาร เซ็นอนุมัติการโอนย้ายทรัพย์สิน
- นำเอกสารโอนคืนจำนวน 6 ฉบับ ใส่ซองเวียนภายในองค์กร จัดส่ง ณ.แผนกบริหารทรัพย์สิน โรงพยาบาลพญาไท 2
- ถ่ายเอกสารใบขอสั่งซื้อ OP จำนวน 2 ฉบับ และนำเอกสาต้นฉบับส่งคืน ณ. แผนกบัญชี
- นำเอกสารการลงมติขายทรัพย์สินของปี 2554 ให้หัวหน้าหน่วยงานของแผนกบัญชี และ วิศวกรรม เซ็นอนุมัติ
- นำรูปภาพทรัพย์สินโอนคืนเรียงตามลำดับในเอกสารมติการขายทรัพย์สิน จำนวน 82 รายการ ในใบเสนอราคาขายทรัพย์สินประจำปี 2554 โดยโปรแกรม Microsoft Word

ปัญหา
- เอกสารมติการขายทรัพย์สินมีความล่าช้าในการเซ็นอนุมัติ

การแก้ปัญหา
- ก่อนนำเอกสารส่งจึงเขียนโน๊ตแนบไปกับเอกสารดังกล่าวว่าเอกสารสำคัญขอด่วน

ประโยชน์
- ทำให้เรียนรู้ในการทำงานอย่างเป็นระบบและมีความว่องไวทำให้เอกสารได้ทันตามกำหนด
- ความอดทนในการทำงาน
- การรู้จักเเก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 15 ( 7 - 11 กุมภาพันธ์ 2554 )

การปฏิบัติงาน
- นำตัวเลข Net Book Value ในระบบ Oracal E-Business Suite มาใส่ใน Report โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- แยกใบโอนคืนทรัพย์สิน จำนวน 10 แผนกจัดเป็นหมวดหมู่
- เขียนรายการทรัพย์สินของ 3 แผนกได้แก่ แผนกแม่บ้าน แผนกวิศวกรรม และ แผนกการพยาบาล
- นำเอกสารใบขอส่วนลด ส่ง ณ. แผนกการเงิน OPD
- นำเอกสารทรัพย์สินโอนคืน ส่ง ณ. แผนกบัญชี และ การตลาด เพื่อให้หัวหน้าแผนกเซ็นรับอนุมัติ
- นำเอกสารใบโอนย้ายทรัพย์สินจากโรงพยาบาลพญาไท 3 ไปยัง โรงพยาบาลพญาไท 2 แผนกรักษาความปลอดภัย เซ็นอนุญาติให้ขนทรัพย์สินออกได้
- ทำการลิ้งค์ข้อมูลรูปภาพทรัพย์สิน โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- รับเอกสารโอนคืนทรัพย์สินคืน ณ. แผนกการพยาบาล

ปัญหา
- มีการลงทรัพย์สินผิด ในส่วนของแผนกฝ่ายการพญาบาล

การแก้ปัญหา
- นำทรัพย์สินที่ไม่ใช่ของแผนกฝ่ายการพยาบาลออก ละแก้ไขใหม่ไห้เรียบร้อย

ประโยชน์
- ได้เรียนรู้วิธีการดึง receipt จากระบบ Oracle
- มีการทำงานอย่างเป็นระบบมากขึ้น

วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 14 ( 31 มกราคม - 4 กุมภาพันธ์ 2554 )

การปฏิบัติงาน
- ถ่ายเอกสารใบขอสั่งซื้อ PO จำนวน 1 ฉบับ และนำเอกสารต้นฉบับส่งคืน ณ. แผนกบัญชี
- นำบาร์โค๊ดไปติดทรัพย์สินใหม่ได้แก่ เครื่องคิดเลขไฟฟ้า จำนวน 2 เครื่อง ณ. แผนกบัญชีแพทย์
- นำเอกสารใบประเมินสภาพทรัพย์สินโอนคืน ส่ง ณ.แผนกวิศวกรรม เพื่อให้หีวหน้าหน่วยงานลงการประเมินสภาพทรัพย์สิน
- นำเอกสารใบโอนคืนทรัพย์สินจัดส่งไปยัง แผนกบริหารทรัพย์สิน โรงพยาบาลพญาไท 2 จำนวน 4 ฉบับ
- นำรายงานซากหมึกประจำปี 2554 ส่ง ณ. แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ IT
- ตรวจนับทรัพย์สินในสต๊อคชั้น 18 ทั้งหมดจำนวน 101 รายการ พร้อมถ่ายภาพทรัพย์สิน
- ทำใบประเมินสภาพทรัพย์สิน จำนวน 101 รายการ โดยโปรแกรม Microsoft Word
- นำเอกสารใบโอนคืนทรัพย์สิน จำนวน 1 ฉบับ ส่ง ณ. ห้องผู้อำนวยการพยาบาล
- พาผู้บริหารของโรงพยาบาลตรวจดูทรัพย์สินในสต๊อก เพื่อจะนำทรัพย์สินที่ยังสามารถใช้งานได้ เพื่อทำเรื่องของนำไปใช้งาน
- ถ่ายภาพทรัพย์สินโอนย้ายได้แก่ โซฟายาว 2 ตัว ณ. แผนกแม่บ้าน พร้อมติดบาร์โค๊ด
- นำเอกสารทรัพย์สินโอนย้าย จัดส่งไปยังแผนกบริหารทรัพย์สิน โรงพยาบาลพญาไท 2

ปัญหา
- ทรัพย์สินบางรายการไม่ได้ถ่ายภาพมา

การแก้ปัญหา
- ทรัพย์สินบางอย่างมีภาพอยู่แล้ว สามารถทำมาใช้ได้โดยไม่ต้องถ่ายภาพใหม่

ประโยชน์
- ทำให้มีความกล้าแสดงออกในการติดต่องานในด้านต่างๆ
- มีความรู้ในการใช้โปรแกรม Microsoft Word เพิ่มมากขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพสัปดาห์ที่ 13 ( 24 - 28 มกราคม 2554 )

การปฏิบัติงาน
- นำเอกสารจัดส่งไปยังแผนกริหารทรัพย์สิน รพ. พญาไท 2 เพื่อให้หัวหน้าหน่วยงานเซ็นอนุมัติ
- รับเอกสารใบขอสั่งซื้อทรัพย์สิน CAPEX จำนวน 1 ฉบับ
- บันทึกรายการทรัพย์สินในระบบ Oracla E-Business Suite จำนวน 115 รายการ ลงใน Microsoft Excel
- ถ่ายเอกสารใบขอสั่งซื้อทรัพย์สิน PO จำนวน 3 ฉบับ และนำต้นฉบับส่งคืน ณ. แผนกบัญชี
- ทำใบประเมินสภาพทรัพย์สิน 1 รายการ โดย Microsoft Excel
- ถ่ายภาพทรัพย์สินใหม่ ได้แก่ หัวเกย์ออกซิเจน จำนวน 3 ชิ้น และ เครื่อช่วยหายใจความถี่สูง 1 เครื่อง ณ แผนกห้องเด็กอ่อน
- นำเอกสารทรัพย์สินโอนคืน จำนวน 4 ฉบับ ส่ง ณ. แผนกวิศวกรรม และ ห้องการพยาบาล
- รับเอกสารรีคอม จำนวน 2 ฉบับ ณ. แผนก AMS
- ถ่ายภาพทรัพย์สินโอนคืน ได้แก่ เครื่องไตเทียม 1 เครื่อง ณ. แผนกไตเทียม

ปัญหา
- ไม่พบปัญหา

ประโยชน์
- มีการทำงานอย่างเป็นระบบมากขึ้น
- มีความรอบคอบในการทำงานทำให้ไม่พบปัญหา

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพสัปดาห์ที่ 12 ( 17 - 21 มกราคม 2554 )

การปฏิบัติงาน


- ใส่เลข Book AMD งลในรายการทรัพย์สิน จำนวน 27 รายการ โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- รับเอกสารใบสั่งซื้อทรัพย์สินใหม่ CAPEX จำนวน 1 ฉบับ
- ถ่ายเอกสารใบขอสั่งซื้อทรัพย์สิน PO จำนวน 10 ฉบับ และนำต้นฉบับส่งคืน ณ. แผนกบัญชี
- นำเงินค่าน้ำดื่ม จัดส่งไปยังแผนกบริหารทรัพย์สิน โรงพยาบาลพญาไท 2 เป็นจำนวนเงิน 381 บาท
- นำเอกสารโอรคืนทรัพย์สินจำนวน 1 ฉบับ จัดส่งไป ณ. แผนกบริหารทรัพย์สิน โรงพญาบาลพญาไท 2
- ทำบาร์โค๊ด เพื่อนำไปติดทรัพย์สินใหม่ ได้แก่ เครื่อง Print label 1 เครื่อง ณ. แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ
- บันทึกรายการทรัพย์สินในระบบ Oracle E-Business Suite จำนวน 1047 รายการ และนำ Asset Number ที่ได้คีย์ลงใน Microsoft Excel
- นำเงินค่าประมูลเครื่องมือการแพทย์ ส่ง ณ. แผนกการเิงิน ให้แผนกการเงินออกใบเสร็จรับเงิน เป็นจำนวนเงิน 2,510 บาทถ้วน


ปัญหา
- ไม่พบปัญหา

ประโยชน์
- ความรู้ใหม่ๆในการใช้โปรแกรม Microsoft Excel
- ทำให้เป็นคนมีความรอบคอบในครอบในการทำงานมากขึ้ืน

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพสัปดาห์ที่ 11 ( 10 - 14 มกราคม 2554 )

การปฏิบัติงาน
- รับเอกสารโอนคืนทรัพย์สิน ได้แก่ ตู้เย็นแช่ยา จำนวน 1 เครื่อง ณ. แผนกเภสัชกรรม
- ทำบาร์โค๊ด เพื่อนำไปติดทรัพย์สินใหม่ ได้แก่ เครื่อง scanner (HP), ที่ชาร์ตถ่าน, สว่านมือ และ กล้อง Webcam อย่างละ 1 เครื่อง ณ. แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ประทับตราสัญลักษณ์ของหน่อยงานลงในเอกสารโอนคืนทรัพย์สินจำนวน 3 ฉบับ และใบประเมินสภาพทรัพย์สิน จำนวน 12 ฉบับ และจัดใส่ซองส่งไป ณ. แผนกบริหารทรัพย์สิน รพ. พญาไท 2
- นำทรัพย์สินโอนคืน ได้แก่ กล้องดิจิตอล 1 เครื่อง ส่ง ณ. แผนกวิศวกรรม เพื่อให้ประเมินสภาพทรัพย์สิน พร้อมให้หัวหน้าแผนกวิศวกรรมเซ็นอนุมัติยินยอมให้โอนคืนทรัพย์สินได้
- จัดทำ Report รายการบันทึกทรัพย์สินใหม่ AMB 2010 ในระบบ Oracle E-Business Suite ดึงข้อมูลลงในโปรแกรม Microsoft Excel
- นำเอกสารมติการประชุม เรื่องการขายและทำลายทรัพย์สิน ประจำปี 2554 ส่งให้หัวหน้า แผนกบัญชี และ แผนกวิศวกรรม เซ็นอนุมัติ
- นำเงินค่าน้ำดื่ม จำนวนเงิน 380 บาท จัดส่ง ณ.แผนกบริหารทรัพย์สิน รพ.พญาไท 2
- ใส่เลข Book AMD งลในรายการทรัพย์สิน จำนวน 2,442 รายการ รวม 25 แผนก โดยโปรแกรม Microsoft Excel

ปัญหา
- ทรัพย์สินบางรายการซึ่งเป็นเครื่องมือแพทย์เป็นศัพท์เฉพาะ ยากต่อการค้นหาเลข Asset Category

การแก้ปัญหา
- ค้นหา Asset Category จากไฟล์ของพี่ผู้ดูแล

ประโยชน์
- ทำไห้มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
- สามารถแก้ปัญหาในงานที่ได้รับมอบหมาย และทำให้ชิ้นงานประสบความสำเร็จ

วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพสัปดาห์ที่ 10 ( 4 - 7 มกราคม 2554 )

การปฏิบัติงาน
- บันทึกรายการนำส่งซากหมึกประจำปี 2010 จำนวน 74 รายการ โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- ถ่ายรูปทรัพย์สินใหม่ ได้แก่ เครื่องตรวจวัดออกซิเจน 1 เครื่อง ณ. แผนก ตา หู คอ จมูก (EENT) และ แผนก ห้องผ่าตัด (OR)
- รับโทรศัพท์แทนพี่ผู้ดูแล และรับเรื่องที่ผู้ติดต่อเข้ามาฝากไว้
- ถ่ายเอกสารใบแจ้งหนี้การสั่งซื้อถุงใส่กล้อง จำวนวน 2 ฉบับ
- เช็คจำนวนซากหมึกประจำปี 2010 จำนวน 74 รายการ
- จัดทำ Report การบันทึกทรัพย์สินของปี 2010 ในระบบ Oracle E-Business Suite โดยโปรแกรม Microsoft Excel จัดรูปแบบให้เรียบร้อย และส่งไฟล์ให้แก่หัวหน้าแผนกบริหารทรัพย์สิน
- จัดทำ Report สรุปรายการซากหมึก Printer ที่ใช้แล้วประจำปี 2010 ทั้งหมด 74 รายการ จำนวน 729 ตลับ โดยโปรแกรม Microsoft Excel

ปัญหา
- การดึงข้อมูลเพื่อนำมาทำ Report มีปัญหาไม่สามารถดึงข้อมูลได้

การแก้ปัญหา
- ออกจากระบบ และ เข้าสู่ระบบอีกครั้ง จึงสามารถดึงข้อมูลเพื่อทำ Report ได้

ประโยชน์
- แก้ไขปัญหาในการดึงข้อมูล Report และส่งไฟล์ให้แก่หัวหน้าองค์กรได้

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพสัปดาห์ที่ 9 ( 27 - 30 ธันวาคม 2553 )

การปฏิบัติงาน
- บันทึกรายการทรัพย์สินในระบบ Oracal E-Business Suite จำนวน 586 รายการ และนำ Asset Number ที่ได้คีย์ลงในโปรแกรม Microsoft Excel
- รับทรัพย์สินโอรคืน ได้แก่ โต๊ะทำงาน จำนวน 1 ตัว ณ. แผนกโภชนาการ
- นำโต๊ะคอมพิวเตอร์จำนวน 2 ตัว ส่งเพื่อเป็นทรัพย์สินขอยืม Iณ. แผนกฉุกเฉิน ER
- ถ่ายเอกสารใบสั่งซื้อทรัพย์สิน OP จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ กล้องดิจิตอล และ เครื่องวัดความดัน และนำเอกสารส่ง ณ. แผนกบัญชีทั่วไป
- ถ่ายภาพทรัพย์สินใหม่ จำนวน 1 รายการ ได้แก่ เครื่องตรวจจับวัดคลื่นหัวใจ ณ. แผนก ICU

ปัญหา
- การบันทึกรายการทรัพย์สินใหม่ในระบบ Oracle เลขที่ Book AMD ซ้ำทำให้ไม่สามารถคีย์ข้อมูลลงไปในโปรแกรมได้

การแก้ปัญหา
- ต้องรันเลขที่ Book AMD ใหม่เพื่อไม่ให้ซ้ำ โปรแกรมจึงสามารถบันทึกรายการทรัพย์สินได้

ประโยชน์
- สามารถแก้ไขปัญหาในการคีย์ข้อมูลในระบบได้เป็นอย่างดี

วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพสัปดาห์ที่ 8 ( 20 - 24 ธันวาคม 2553 )

การปฏิบัติงาน
- นำบาร์โค๊ดไปติดทรัพย์สินใหม่ ได้แก่ เครื่องเสียง 2 เครื่อง ณ. ห้องนวดบำบัด พร้อมถ่ายภาพทรัพย์สิน
- นำบาร์โค๊ดไปติดทรัพย์สินใหม่ ได้แก่ Notebook Dell , Printer (HP) , Barcode Scanner ณ. แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ IT
- เซ็นรับเอกสารแทนพี่ผู้ดูแล จำนวน 1 ฉบับ ณ. แผนกธุรการ
- นำเอกสารใบขอสั่งซื้อทรัพย์สิน CAPEX 1 ฉบับ ให้หัวหน้าหน่วยยานพาหนะ เซ็นอนุมัติเอกสาร
- นำบาร์โค๊ดไปติดทรัพย์สินใหม่ ได้แก่ ไดร์เป่าผม 1 เครื่อง ณ. ชั้น 9 พร้อมถ่ายภาพทรัพย์สิน
- บันทึกรายการทรัพย์สินในระบบ Oracle E-Business Suite จำนวน 153 รายการ และนำ Asset Number ที่ได้คีย์ลงใน Microsoft Excel
- ตกแต่งของขวัญที่แผนกทรัพย์สินจะนำไปแจกแก่แผนกอื่น ๆ ในงานกินเลี้ยงปีใหม่ของโรงพญาบาล
- ถ่ายภาพทรัพย์สินใหม่เครื่องวัดการเต้นของหัวใจ ณ. แผนกห้องเด็กอ่อน
- นำเอกสารของแผนกทรัพย์สินไปส่ง ณ. แผนกวิศวกรรม เพื่อให้หัวหน้าแผนก เซ็นอนุมัติ
- ถ่ายเอกสารใบขอสั่งซื้อทรัพย์ิสิน CAPEX จำนวน 7 ฉบับ
- รับโทรศัพท์ บันทึกเรื่องที่ติดต่องาน เนื่องจากพี่ผู้ดุแลต้องออกไปดูงานนอกสถานที่
- ถ่ายเอกสารสรุปยอดทรัพย์สิน จำนวน 4 ชุด
- นำเอกสารสรุปยอดทรัพย์สินจัดใส่ซองเวียนภายในองค์กร จัดส่งไปยังแผนกบริหารทรัพย์สิน โรงพยาบาลพญาไท 2
- เช็คจำนวนของขวัญปีใหม่ ของแผนกลูกค้าสัมพันธ์ ได้แก่ ของกำนันขนาด 250 ml จำนวน 60 ชุด , ขนาด 125 ml จำนวน 60 ชุด , ขนาด 35 ml จำนวน 140 ชุด พร้อมลงชื่อรับทรัพย์สิน

ปัญหา
- การบันทึกรายการทรัพย์สินในระบบ Oracle E-Business Suite เลขที่ Book AMD ซ้ำทำให้ไม่สามารถคีย์ต่อได้
- ตอบคำถามผู้ที่ติดต่อเข้ามาถามเรื่องทรัพย์สินได้ไม่ชัดเจน

การแก้ปัญหา
- ปรับเลขที่ Book AMD ใหม่เพื่อไม่ให้ซ้ำ จึงสามารถบันทึกข้อมูลต่อได้
- ให้ผู้ติดต่อ ฝากชื่อและ แผนกไว้ เพื่อให้พี่ผู้ดูแลโทรกับไปแนะนำข้อมูลได้

ประโยชน์
- ได้ติดต่องานในแผนกอื่นๆ เพิ่มมากขึ้นทำให้มีความกล้าแสดงออก และการเจรจาให้ดีมากขึ้น
- ได้ออกไปทำงาน ณ. หน่วยงานในเครือ ได้เรียนรู้การทำงานกับบุคคลอื่น
- ได้เรียนรู้การรับโทรศัพท์แทนพี่ผู้ดูแล และ รับเรื่องที่ลูกค้าจะติดต่อไว้เพื่อแจ้งแก่พี่ผู้ดูแล

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 7 ( 13 - 17 ธันวาคม 2553 )

การปฏิบัติงาน
- เซ็นรับเอกสารแทนพี่ผู้ดูแล จำนวน 1 ฉบับ
- บันทึกรายการทรัพย์สินในระบบ Oracle E-Business Suite จำนวน 190 รายการ และนำ Asset Number ที่ได้คีย์ลงใน Microsoft Excel
- รับเอกสารใบขอสั่งซื้อทรัพย์สิน CAPEX จำนวน 2 ฉบับ ณ. สำนักงานผู้อำนวยการบริหาร
- คีย์ข้อมูลการขอสั่งซื้อทรัพย์สิน CAPEX 2 รายการ ได้แก่ ตู้แช่โลหิตกาชาด และ เครื่องวัดเปอร์เซ็นความอิ่มตัวของออกซิเจน จำนวนอย่างละ 1 เครื่อง งลในโปรแกรม Microsoft Excel
- เขียนรายการ CAPEX ทั้ง 2 รายการลงใน Book Asset Management
- รับทรัพย์สินโอนคืน ได้แก่ เครื่อง Oximeter Pulse 1 เครื่อง พร้อมถ่ายภาพทรัพย์สินประกอบการทำใบประเมินสภาพทรัพย์สิน ณ. แผนก EENT
- นำบาร์โค๊ตไปติดทรัพย์สินใหม่ ได้แก่ Scanner (HP) 1 เครื่อง ณ. แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ IT
- ถ่ายภาพทรัพย์สินใหม่ ได้แก่ เครื่องมือผ่าตัด ณ. แผนกห้องผ่าตัด OR
- จัดทำใบประเมินสภาพทรัพย์สินโอนคืน จำนวน 4 รายการ ได้แก่ ตู้แช่ยา ทีวี ซากโทรศัพท์ และเครื่อง Oximeter Pulse โดยโปรแกรม Microsoft Word

ปัญหา
- เครื่อง Scanner (HP) ทรัพย์สินใหม่ เกิดปัญหาใช้การไม่ได้
- ถ่ายภาพทรัพย์สินโอนคืน ทีวี ได้เพียง 1 เครื่อง เนื่องจากเอกสารไม่ครบถ้วน

การแก้ปัญหา
- ดำเนินเรื่องแจ้งคืนทรัพย์สินและรอทรัพย์สินตัวใหม่
- จัดเอกสารให้ครบถ้วนเพื่อการโอนคืนทรัพย์สิน จึงจะสามารถถ่ายภาพได้

ประโยชน์
- เรียนรู้การเซ็นรับเอกสารแทนพี่ผู้ดูแล
- เรียนรู้การเขียนรายการ CAPEX ลงใน Book Asset Management

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 6 ( 7 - 9 ธันวาคม 2553 )

การปฏิบัิติงาน
- บันทึกรายการทรัพย์สินในระบบ Oracle E-Business Suite จำนวน 305 รายการ และนำ Asset Number ที่ได้คีย์ลงใน Microsoft Excel
- จัดทำแบบฟอร์มเอกสารโอนคืนทรัพย์สิน 3 รายการ โดย Microsoft Word
- อัพเดทรายการทรัยพ์สินโอนคืน 3 รายการลง Microsoft Excel
- นำกล้องถ่ายภาพดิจิตอล จัดใ่ส่ซองเวียนส่งไป ณ. แผนกบริหารทรัพย์สิน โรงพญาบาลพญาไท 2
- เซ็นรับเอกสารแทนพี่ผู้ดูแล เนื่องจากพี่ผู้ดูละออกไปดูงานนอกสถานที่ จำนวน 2 ฉบับ
- นำเอกสาร ใบแจ้งหนี้ทรัพย์สิน ส่งให้แก่ แผนก X-Ray เซ็นรับเรื่อง และนำเอกสารใบแจ้งหนี้ส่งคืน ณ. แผนกบัญชี
- รับเอกสารใบสั่งซื้อทรัพย์สินใหม่ CAPEX จำนวน 5 ฉบับ
- คีย์ข้อมูล รายการขอสั่งซื้อทรัพย์สินใหม่ 5 รายการ ได้แก่ เก้าอี้สำนักงาน, โต๊ะทำงาน, เครื่องคิดเลข, กล้องดิจิตอล และเครื่อง Fax คีย์โดยโปรแกรม Microsoft Excel และนำเอกสารใบขอสั่งซื้อทรัพย์สินใหม่ CAPEX คืน ณ. สำนักงานผู้อำนวยการบริหาร
- รับทรัพย์สินโอนคืน ณ. แผนกห้องเด็กอ่อน ได้แก่ Pulse Oximeter 1 เครื่อง พร้อมถ่ายภาพทรัพย์สินดังกล่าว เพื่อนำมาทำใบประเมินสภาพทรัพย์สิน โดย Microsoft Word
- นำเอกสาร ใบโอนคืนทรัพย์สิน และ ใบประเมินสภาพทรัพย์สิน ดังกล่าว ใส่ซองเวียนจัดส่งถึง แผนกบริหารทรัพย์สิน โรงพญาบาลพญาไท 2

ปัญหา
- โปรแกรม Oracle E-Business Suite มีปัญหาไม่สามารถบันทึกข้อมูลลงไปได้
- เอกสารการสั่งซื้อทรัพย์สินใหม่ CAPEX 2 ฉบับ ไม่ระบุชื่อแผนกที่ขอสั่งซื้อทรัพย์สิน

การแก้ปัญหา
- ออกจากโปรแกรม และลอง login เข้าใช้งานใหม่ ทำให้สามารถใช้งานได้
- ดูเลขรหัสแผนกที่กรอกมา แล้วเขียนลงในเอกสาร CAPEX พร้อมคีย์ ชื่อ แผนกลงใน Microsoft Excel

ประโยชน์
- ได้เรียนรู้การส่งเอกสารของหน่วยงานไปยังหน่อยงานในเครือเดียวกัน
- สามารถอัพเดทรายการโอนทรัพย์สินต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 5 (29 พฤศจิกายน -3 ธันวาคม 2553)

การปฏิบัติงาน

- ถ่ายเอกสารใบกำกับภาษี และ ใบสั่งซื้อ (PO) นำสำเนาใส่แฟ้ม จำนวน 1 ฉบับ เอกสารต้นฉบับส่งคืน ณ แผนกบัญชี
- บันทึกรายการทรัพย์สินในระบบ Oracle E-Business Suite จำนวน 497 รายการ และนำ Asset Number ที่ได้คีย์ลงใน Microsoft Excel
- จัดเอกสารใบลางานของพี่ผู้ดูแล จัดส่งถึงหัวหน้าแผนกบริหารทรัพย์สินและธุรกิจสนับสนุน ณ โรงพญาบาลพญาไท 2
- บันทึกรายการสั่งซื้อทรัพย์สินใหม่ (CAPEX) 8 รายการ
- เขียนบันทึกรายการสั่งซื้อทรัพย์สินใหม่ (CAPEX) 6 รายการ ลงใน Book Asset Management และนำไปให้ สำนักงานผู้อำนวยการฝ่ายบริหารเซ็นรับเรื่องทุกครั้ง
- รับทรัพย์สินคืน ฉ แผนกเด็กอ่อน ชั้น 6 โรงพญาบาลพญษไท 3
- เซ็นรับเอกสารแทนพี่ผู้ดูแล จำนวน 2 ฉบับ

ปัญหา
- เครื่องถ่ายเอกสารเข้ารหัสแผนกไม่ได้
- เอกสารการสั่งซื้อทรัพย์สินใหม่ (CAPEX) กรอกข้อมูลไม่ชัดเจน ยากต่อการบันทึกข้อมูล
- รับทรัพย์สินโอรคืนไม่ได้ เนื่องจากหัวหน้าแผนกไม่อยู่ จึงไม่ทราบว่าทรัพย์สินใดที่ต้องการโอนคืน

การแก้ปัญหา
- สอบถามพี่ผู้ดูแลเพื่อแก้ปัญหาการใส่รหัสไม่ได้
- ส่งคืนกับ ณ แผนกที่ส่งใบสั่งซื้อสินค้าใหม่ และให้จัดการกรอกข้อมูลให้ชัดเจน
- ติดต่อรับทรัพย์สินคืนโอนคืน วันอังคารที่ 6 ธันวาคม 2553

ประโยชน์
- ได้เรียนรู้การติดต่องานกับระดับผู้บริหารในการขอรับเอกสารต่างๆ

- รู้จักการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการคีย์ข้อมูลในระบบเมื่อเกินปัญหา

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 4 (22-26 พฤศจิกายน 2553)

การปฏิบัติงาน
- บันทึกรานการทรัพย์สินในระบบ Oracle E-Business Suite จำนวน 376 รายการ เพื่อนำเลข Asset Number ที่ได้มาคีย์ลงใน Microsoft Excel
- รับโทรศัพท์ บันทึกเรื่องที่ติดต่องาน เนื่องจากพี่ผู้ดุแลต้องออกไปดูงานนอกสถานที่
- นำบาร์โค๊ดไปติดทรัพย์สินใหม่ โทรศัพท์ไร้สาย จำนวน 1 เครื่อง ณ. แผนกเภสัชกรรม พร้อมถ่ายภาพทรัพย์สิน
- ถ่ายภาพทรัพย์สินโอนคืน ณ. W11 ได้แก่ Chart เหล็กผู้ป่วยจำนวน 7 อัน , Oxygen Flowmeter จำนวน 3 อัน
- ทำแบบฟอร์มโอนคืนทรัพย์สิน 2 รายการ โดย Microsoft Word
- อัพเดทรายการโอนคืนทรัพย์สิน Chart เหล็กผู้ป่วยจำนวน 7 อัน , Oxygen Flowmeter จำนวน 3 อัน โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- ประทับตราในเอกสารโอนคืนจำนวน 2 ฉบับ พร้อมลงเลข RP ส่งเอกสารคืน ณ. แผนกบริหารทรัพย์สิน โรงพยาบาลพญาไท 2
- ถ่ายเอกสาร ใบกำกับภาษี และ ใบสั่งซื้อ(PO) จำนวน 2 ชุด
- รับพัสดุแทนพี่ผู้ดูแล ณ. แผนกยานพาหนะ ทรัพย์สิน คือ ไมโครเวฟ 1 เครื่อง และติดบาร์โค๊ดที่ทรัพย์สิน จัดส่ง ณ. แผนกไตเทียม พร้อมเอกสารยืนยันการรับทรัพย์สิน
- ส่งเอกสาร ใบขอสั่งซื้อทรัพย์สินใหม่ (CAPEX) ณ. สำนักงานผู้บริหาร และ แผนกวิศวกรรม

ปัญหา
- เอกสารโอรคืนทรัพย์สินที่ส่งมาไม่มีลายเซ็นของหัวหน้าแผนก w.11
- โปรแกรม Oracle E-Business Suite มีปัญหาไม่สามารถลงรหัสของประเภททรัพย์สินได้

การแก้ปัญหา
- ส่งเอกสารคืน ณ. w.11 เพื่อให้หัวหน้าแผนกเซ็นรับเรื่องการคืนทรัพย์สิน
- ให้พี่ผู้ดูแล ช่วยสอนวิธีแก้ โปรแกรม Oracle E-Business Suite

ประโยชน์
- ได้เรียนรู้การถ่ายภาพทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบเอกสารในการยื่นเอกสารขอโอนคืน ขอซื้อ และ ขอโอนย้ายทรัพย์สิน

- ได้เรียนรู้ชื่อย่อของแต่ละแผนกและสถานที่ต่างๆ

- ได้เรียนรู้วิธีการติดบาร์โค๊ดว่าควรติดอย่างไร

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 3 (15-19 พฤศจิกายน 2553)

การปฏิบัติงาน

- จัดทำรายการบันทึกทรัพย์สิน ปี 2009 - 2010 ในระบบ Oracle Business Suite เพื่อนหา Asset Number จำนวน 196 รายการ
- จัดทำ Report รายการบันทึกทรัพย์สิน ปี 2009 - 2010 จากระบบ Oracle Business Suite ให้ออกออกมาเป็นหน้า Report โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- เรียนรู้งานเกี่ยวกับ ตัวย่อของแต่ละ แผนกและรหัสประจำแผนก
- นำเอกสารใบโอนคืนทรัพย์สิน ใส่ซองเวียนภายในองค์กร ส่ง ณ ฝ่ายธุรการ
- ถ่ายเอกสาร OP จำนวน 5 ชุด
- นำแฟ้มสรุปยอดรายการทรัพย์สินประจำเดือนพฤศจิกายน นำส่ง ณ ฝ่ายธุรการ ส่งถึง แผนกบริหารทรัพย์สินโรงพยาบาลพญาไท 2

ปัญหา

- การบันทึกรายการทรัพย์สินมีความซับซ้อนทำให้เข้าใจได้ยาก
- ไม่ทราบตัวย่อ และ รหัส ของแต่ละแผนก

การแก้ปัญหา

- จดวิธีการบันทึกรายการทรัพย์สิน เพื่อให้จำได้ง่ายขึ้น
- สอบถามพี่ผู้ดูแล และ จดบัน ตัวย่อและ รหัส ของแต่ละแผนก

ประโยชน์

- สามารถใช้เครื่องถ่ายเอกสารในการถ่ายเอกสารในขนาดต่าง ๆ ได้
- สามารถคีย์ข้อมูลขององค์กรเข้าสู่ระบบได้ และ ดึงข้อมูลออกมาในรูปของ Report
- สามารถเดินรับ ส่งเอกสารในสถานที่ต่าง ๆ ได้ง่ายและสะดวกมากขึ้

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 2 (8-12 พฤศจิกายน 2553)

การปฏิบัติงาน

- รับเอกสารโอนคืนทรัพย์สินตกค้างจำนวน 1 ฉบับ
- ปรับปรุงข้อมูลใบสั่งซื้อทรัพย์สินใหม่ และ ใบโอนคืนทรัพย์สิน โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- จัดทำแบบฟอร์มโอนคืนทรัพย์สิน โดยโปรแกรม Microsoft Word
- นำเอกสารการรับโอนคืนทรัพย์สินของหน่อยงาน ณ แผนกแม่บ้าน แผนกวิศวกรรม และ แผนก CSSD เซ็นรับเอกสาร
- เพิ่มรายการสั่งซื้อทรัพย์สินใหม่ โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- นำทรัพย์สินขอซื้อจัดส่ง ณ แผนกแม่บ้าน พร้อมติดบาร์โค๊ตที่ทรัพย์สินเพื่อป้องกันการสูญหาย
- รับทรัพย์สินโอนคืน ได้แก่ เครื่อง Fax จำนวน 1 เครื่อง ณ แผนกฉุกเฉิน (ER)
- จัดเรียงเอกสารของแผนกบริหารทรัพย์สิน ใส่ซองเวียน ส่งให้แกหน่อยงานหลัก โรงพยาบาลพญาไท 2
- เช็คจำนวนซากทรัพย์สิน ตั้งแต่ เดือนมกราคม - ตุลาคม 53 พร้อมอัพเดทข้อมูล โดยโปรแกรม Microsoft Excel

ปัญหา
- จำนวนซากทรัำพย์สินแต่ละประเภทไม่ได้จัดเรียงให้เป็นหวมดหมู่ จึงยากต่อการเช็คจำนวน
- เอกสารการโอนคืนทรัพย์สิน ข้อมูลไม่ครบทำให้เกิดความล่าช้าในการจัดทำเอกสาร

การแก้ไข
- จัดเรียงซากทรัพย์สินให้เป็นหมวดหมู่
- ส่งกลับต่อหน่อยงานที่ส่งเอกสาร แก้ไขเอกสารให้ครบถ้วน

ประโยชน์
- มีความรู้ในเรื่องของการทำเอกสารของ องค์กรมากขึ้น
- มีความกล้าแสดงออกในการนำเอกสารของหน่อยงานไปส่งและ ติดต่องานแทนพี่ผู้ดูแ

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 1 (1-5 พฤศจิกายน 2553)

การปฏิบัติงาน
- เรียนรู้การทำ บาร์โค้ด (barcode) เพื่อนำไปติดตามทรัพย์สินของหน่วยงาน
- เดิน รับ - ส่ง เอกสาร ณ แผนกบัญชี แผนกธุรการ แผนศูนย์การเรียนรู้ และแผนก x-ray
- ถ่ายเอกสาร และ ส่ง Fax ไปหน่วยงานอื่น
- ปรับปรุงข้อมูลใบสั่งซื้อทรัพย์สินใหม่ และ ใบโอรคืนทรัพย์สิน โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- ทำรายงานการโอนคืนทรัพย์สิน พร้อมรูปถ่ายทรัพย์สินที่โอนคืน โดยโปรแกรม Microsoft Word
- จัดเอกสารใส่ซองเวียนสีน้ำตาล เขียนลายละเอียดผู้รับเอกสาร ส่งเอกสารใ้ห้แก่ แผนกธุรการ ส่งใ่ห้แก่หน่วยงานนั้น ๆ
- นำทรัพย์สินของหน่วยงาน นำไปเก็บ และ เช็คจำนวน ทรัพย์สินในสต๊อก
- ปรับปรุงข้อมูลการเบิกจ่าย ทรัพย์สินของหน่อยงาน โดยโปรแกรม Microsoft Excel
- กรอกข้อมูลการโอนคืน การสั่งซื้อทรัพย์สินใหม่ ลงในสมุดการเบิกจ่าย ทรัพย์สินของหน่วยงาน พร้อมนำไปให้หัวหน้าแผนกบริการทรัพย์สิน เซ็นรับทราบเรื่อง
- ตรวจสอบเอกสารที่สมบูรณ์แล้ว นำเก็บใส่แฟ้ม

ปัญหา

- ไม่เข้าใจการกรอกข้อมูลลงในสมุดการเบิกจ่าย
- เอกสารใบโอนคืนสินค้าไม่ครบถ้วน

วิธีแก้ปัญหา

- ใ้ห้พี่ผู้ดูแลในการฝึกประสบการวิชาชีพ อธิบายงานให้เข้าใจ
- แจ้งที่หน่วยงานนั้น แล้ว ทำเรื่อง ติดตามใบโอรคืนเพื่อให้เอกสารสมบูรณ์
ประโยชน์
- รู้จักกาเรียนรู้การทำงานอย่างเป็นระบบ
- รู้จักการวิธีใช้โปรแกรมการสร้างบาร์โค๊ด
- รู้จักการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ลูกแรดเตรียมพร้อมล่าเหยื่อ

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนวิชาเตรียมฝึกประสบการณวิชาชีพ 3

  1. ได้เรียนรู้การทำงานอย่างมีระบบแบบแผน
  2. ได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม
  3. ได้รู้จักการมีระเบียบวินัยในการทำงาน
  4. มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
  5. สามารถนำไปประยุกต์ใช้ชีวิตประจำวัน ได้เป็นอย่างดี

วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552

DTS11/08-09-2009

เรื่อง.. Sorting
การเรียงลำดับ (sorting) เป็นการจัดให้เป็นระเบียบมีแบบแผน ช่วยให้การค้นหาสิ่งของหรือข้อมูล ซึ่งสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
การเรียงลำดับอย่างมีประสิทธิภาพ
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเพื่อเลือกวิธีการเรียงลำดับที่ดีและเหมาะสมกับระบบงาน เพื่อให้มีประสทิธิภาพในการทำงานสูงสุด
1.เวลาและแรงงานที่ต้องใช้ในการเขียนโปรแกรม
2.เวลาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ต้องใช้ในการทำงานตามโปรแกรมที่เขียน
3.จำนวนเนื้อที่ในหน่วยความจำหลักมีเพียงพอหรือไม่
วิธีการเรียงลำดับ
1. การเรียงลำดับแบบภายใน(internal sorting) เป็นการเรียงลำดับที่ข้อมูลทั้งหมดต้องอยู่ในหน่วยควมจำหลัก
2. การเรียงลำดับแบบภายนอก(external sorting) เป็นการเรียงลำดับข้อมูลที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำรอง
การเรียงลำดับแบบเลือก (selection sort)
ข้อมูลจะอยู่ทีละตัว โดยทำการค้นหาข้อมูลในแต่ละรอบแบบเรียงลำดับ ถ้าเป็นการเรียงลำดับจากน้อยไปมาก
1.ในรอบแรกจะทำการค้นหาข้อมูลตัวที่มีค่าน้อยที่สุดมาเก็บไว้ที่ตำแหน่งที่ 1
2.ในรอบที่สองนำข้อมูลตัวที่มีค่าน้อยรองลงมาไปเก็บไว้ที่ตำแหน่งที่สอง
3.ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนครบทุกค่า ในที่สุดจะได้ข้อมูลเรียงลำดับจากน้อยไปมากตามที่ต้องการ
** การจัดเรียงลำดับแบบเลือกเป็นวิธีที่ง่ายและตรงไปตรงมา แต่มีข้อเสียตรงที่ใช้เวลาในการจัดเรียงนาน เพราะแต่ละรอบต้องเปรียบเอียบกับข้อมูลทุกตัว
การเรียงลำดับแบบฟอง (Bubble Sort)
เป็นวิธีการเรียงลำดับที่มีการเปรียบเทียบข้อมูลในตำแหน่งที่อยู่ติดกัน1.ถ้าข้อมูลทั้งสองไม่อยู่ในลำดับที่ถูกต้องให้สลับตำแหน่งที่อยู่กัน2.ถ้าเป็นการเรียงลำดับจากน้อยไปมากให้นำข้อมูลตัวที่มีค่าน้อยกว่าอยู่ในตำแหน่งก่อนข้อมูลที่มีค่ามาก ถ้าเป็นการเรียงลำดับจากมากไปน้อยให้นำข้อมูล ตัวที่มีค่ามากกว่าอยู่ในตำแหน่งก่อนข้อมูลที่มีค่าน้อยการจัดเรียงลำดับแบบฟองเป็นวิธีที่ไม่ซับซ้อนมาก เป็นวิธีการเรียงลำดับที่นิยมใช้กันมากเพราะมีรูปแบบที่เข้าใจง่าย

DTS 10-01/09/2009

เรื่อง.. กราฟ ( Graph )
(Graph) เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบไม่ใช่เชิงเส้น อีกชนิดหนึ่ง กราฟเป็นโครงสร้างข้อมูลที่มีการนำไปใช้ในงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อนนิยามของกราฟ
กราฟ เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบไม่ใช่เชิงเส้นที่ประกอบ ด้วยกลุ่มของสิ่งสองสิ่งคือ
(1) โหนด (Nodes) หรือ เวอร์เทกซ์(Vertexes)
(2) เส้นเชื่อมระหว่างโหนด เรียก เอ็จ (Edges)
- กราฟที่มีเอ็จเชื่อมระหว่างโหนดสองโหนด ถ้าเอ็จไม่มีลำดับ ความสัมพันธ์จะเรียกกราฟนั้นว่า กราฟแบบไม่มีทิศทาง
- ถ้ากราฟมีเอ็จที่มีลำดับความสัมพันธ์หรือมีทิศทางกำกับด้วยเรียกกราฟว่า กราฟแบบมีทิศทาง บางครั้งเรียกว่า ไดกราฟ
- การเขียนกราฟแสดงโหนดและเส้นเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างโหนดไม่มีรูปแบบที่ตายตัว
- เขียนกราฟเพื่อแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่สนใจแทนโหนดด้วยจุด (pointes) หรือวงกลม (circles) ที่มีชื่อหรือข้อมูลกำกับ
ลักษณะของกราฟ
- กราฟที่มีลักษณะต่อเนื่อง (Connected) เป็นกราฟที่มีเส้นทางเชื่อมจากโหนดใดๆ ไปยังโหนดอื่นเสมอ
- กราฟที่มีลักษณะเป็นวิถี (Path) มีเส้นเชื่อมไปยังโหนดต่างๆ อย่างเป็นลำดับ โดยแต่ละโหนดจะเป็นโหนดที่ใกล้กันกับโหนดที่อยู่ถัดไป
- กราฟที่เป็นวัฎจักร (Cycle) ต้องมีอย่างน้อย 3 โหนด ที่โหนดสุดท้ายต้องเชื่อมกับโหนดแรก
- กราฟที่มีลักษณะไม่ต่อเนื่อง (Disconnected) ไม่มีเส้นทางเชื่อมจากโหนด 3 ไปยังโหนดอื่นเลย
- กราฟแบบมีทิศทาง เป็นเซตแบบจำกัดของโหนดและเอ็จ โดยเซตจะว่างไม่มีโหนดหรือเอ็จเลยเป็นกราฟว่าง (Empty Graph)รูปแบบของกราฟแบบมีทิศทางเหมือนกับรูปแบบของกราฟไม่มีทิศทาง ต่างกันตรงที่กราฟแบนี้จะทิศทางกำกับด้วยเท่านั้น
การแทนกราฟในหน่วยความจำ
สิ่งที่ต้องจัดเก็บ จากกราฟทั่วไป คือ เอ็จ เป็นเส้นเชื่อมระหว่างโหนดสองโหนด มีวิธีเก็บหลายวิธี แต่วิธีที่ง่าย คือ การเก็บเอ็จในแถวลำดับ 2 มิติ แต่จะค่อนข้างเปลืองเนื้องที่ เพราะมีบางเอ็จที่เก็บซ้ำ แก้ไขปัญหานี้โดยใช้แถวลำดับ 2 มิติเก็บโหนด และพอยเตอร์ชี้ไปยังตำแหน่งของโหนดที่สัมพันธ์ และใช้แถวลำดับ 1 มิติเก็บโหนดต่างๆ ที่สัมพันธ์กับโหนดในแถวลำดับ 2 มิติ การใช้วิธีนี้ไม่เหมาะกับกราฟที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา กราฟที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอาจจะใช้วิธีแอดจาเซนซีลิสต์ คล้ายกับวิธีจัดเก็บกราฟแต่ต่างกัยตรงที่ใช้ลิงค์ลิสต์แทนเพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนแปลงแก้ไข
การท่องไปในกราฟ (Graph traversal) คือ การเข้าไปเยือนโหนดในกราฟ หลักการทำงาน คือ แต่ละโหนดจะถูกเยือนเพียงครั้งเดียว
เทคนิคการท่องไปในกราฟมี 2 แบบ คือ
1.การท่องแบบกว้าง (Breadth First Traversal) โดยเลือกโหนดที่เป็นจุดเริ่มต้น ต่อมาให้เยือนโหนดอื่นที่ใกล้กันกับโหนดเริ่มต้นที่ละระดับ จนเยือนหมดทุกโหนดในกราฟ (แบบคิว)
2.การท่องแบบลึก (Depth First Traversal) คล้ายกับการท่องทีละระดับของทรี กำหนดเริ่มต้นที่โหนดแรกและเยือนโหนดถัดไปตามแนววิถีจนไปสู่ปลายวิถี จากนั้นย้อนกลับ (backtrack) ตามแนววิถีเดิม จนสามารถดำเนินการต่อเนื่องเข้าสู่แนววิถีอื่นๆ เพื่อเยือนโหนดอื่นๆ ต่อไปจนครบทุกโหนด (แบบสแตก)

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

DTS 09-24/08/2009

เรื่อง ทรี (Tree)

ทรี (Tree) เป็นโครงสร้างข้อมูลไม่เชิงเส้น โดยจะมีการเรียงข้อมูลลดหลั่งลงเป็นลำดับๆไปส่วนมากจะใช้ให้เห็นถึงความสำคัญข้อมูลว่าอันไหนสำคัญกว่าเเละอันไหนรองๆลงมา

ชื่อเรียกของโหนด
  • จะมีการเีรียงข้อมูลโดยข้อมูลที่อยู่ในระดับสูงสุดจะเรียกว่า โหนดราก
  • รองลงมาจะเป็นโหนดเเม่
  • ข้อมูลที่ออกมาจากโหนดเเม่ คือ โหนดลูก
  • โหนดที่มีเเม่เป็นโหนดเดียวกัน เรียกว่าโหนดพี่น้อง
  • โหนดที่ไม่มีลูกคือ โหนดใบ
  • เส้นที่ลากเเสดงความสัมพันธ์คือ กิ่ง

นิยามของทรี

1.เป็นนิยามเเบบกราฟ

-ทรีคือ กราฟที่จะไม่มีวงจรปิดจำนวนโหนดทั้งหมด เท่ากับZ กิ่งของโหนดก็จะเท่ากับ Z-1 เสมอ

2. นิยามทรีด้วยรูปแบบรีเคอร์ซีฟ

-ทรีประกอบด้วยสมาชิกที่เรียกว่าโหนด ถ้าเป็นโหนดว่างคือนัลทรี เเละโหนดที่ออกมาจากโหนดราก คือ ทรีย่อย

นิยามที่เกี่ยวกับทรี

1. ฟอร์เรสต์ (Forest) คือ กลุ่มของทรีที่มีโหนดรากเเละย่อยๆออกมา

2. ทรีที่มีแบบแผน (Ordered Tree) คือ ทรีที่โหนดมีความสัมพันธ์ที่แน่นอนหรือมีเเบบเเผนนั้นเอง

3. ทรีคล้าย (Similar Tree) คือ ทรีที่มีโครงสร้างเหมือนเเต่ข้อมูลไม่เหมือนกัน

4. ทรีเหมือน (Equivalent Tree) คือ ทรีที่เหมือนกันโดยสมบูรณ์ ทั้งข้อมูลทั้งโครงสร้าง

5. กำลัง (Degree) คือ จำนวนทรีย่อยของโหนด

6. ระดับของโหนด (Level of Node) คือ การเเบ่งระดับของทรีเป็นชั้นๆเช่นโหนดรากคือระดับ1โหนดเเม่ระดับ 2 เป็นต้น

การเเทนที่ในหน่วยความจำมี 2 แบบ คือ

1. โหนดแต่ละโหนดเก็บพอยเตอร์ชี้ไปยังโหนดลูกทุกโหนด การแทนที่ทรีด้วยวิธีนี้ จะให้จำนวนฟิลด์ในแต่ละโหนดเท่ากันโดยกำหนดให้มีขนาดเท่ากับจำนวนโหนดลูกของโหนดที่มีลูกมากที่สุด

2.เเบบไบนารีทรี คือเเต่ละโหนดจะมีลิงค์เเค่2ลิงค์เท่านั้น

DTS 08-11/08/2009

เรื่อง คิว (Queue)


คิว (Queue) เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบเชิงเส้นหรือลิเนียร์ลิสต์ซึ่งการเพิ่มข้อมูลจะกระทำที่ปลายข้างหนึ่งซึ่ง
เรียกว่าส่วนท้ายหรือเรียร์ (rear) และการนำข้อมูลออกจะกระทำที่ปลายอีกข้างหนึ่งซึ่งเรียกว่า ส่วนหน้า หรือฟรอนต์ (front) ลักษณะการทำงานของคิวเป็นลักษณะของการเข้าก่อนออกก่อนหรือที่เรียกว่า FIFO (First In First Out)



การทำงานของคิว
การใส่สมาชิกตัวใหม่ลงในคิว เรียกว่า Enqueue ซึ่งมีรูปแบบคือ enqueue (queue, newElement) หมายถึง การใส่ข้อมูล newElement ลงไปที่ส่วนเรียร์ของคิว

การนำสมาชิกออกจากคิว เรียกว่า Dequeue ซึ่งมีรูปแบบคือ dequeue (queue, element) หมายถึง การนำออกจากส่วนหน้าของคิวและให้ ข้อมูลนั้นกับ element

การทำงานของคิวโดยพื้นฐาน
1. การใส่สมาชิกตัวใหม่ลงในคิวเรียกว่า E
2. การนำสมาชิกออกจากคิว เรียกว่าDequeue
3. การนำข้อมูลที่อยู่ตอนต้นของคิวมาแสดงจะเรียกว่า Queue Frontแต่จะไม่ทำการเอาข้อมูลออกจากคิว
4. การนำข้อมูลที่อยู่ตอนท้ายของคิวมาแสดงจะ เรียกว่าQueue Rear แต่จะไม่ทำการเพิ่มข้อมูลเข้าไปในคิว




ตัวดำเนินการเกี่ยวกับคิว มีลักษณะคล้ายของสแตกมาก ดังนี้
1. Create Queue คือการ สร้างคิว มีผลคือได้คิวว่าง
2. Enqueue คือการเพิ่มสมาชิกลงไป
3. Dequeue คือการนำสมาชิกออกมา
4. Queue Front คือการนำส่วนของฟรอนด์ ออกมาเเสดงโดยไม่เอาข้อมูลออกมา
5. Queue Rear คือการนำข้อมูลส่วนเรียร์มาเเสดงเเต่ไม่เอาเข้ามูลเข้ามา
6. Empty Queue คือการตรวจสอบว่าคิวว่างหรือไม่ ถ้าเราเห้นว่าคิวว่างเเล้วยังจะลบข้อมูลอีกก็จะเกิดข้อ
ผิดพลาดที่เรียกว่า underflow
7. Full Queue คือการตรวจสอบว่าคิวเต็มหรือไม่ ถ้าตรวจสอบเเล้วคิวเต็มเเล้วเรายังจะเพิ่มข้อมูลเ้ข้าไป คิวจะเกิดข้อผิดพลาดที่เรียกว่าoverflow
8. Queue Count คือการนับจำนวนสมาชิกในคิว
9. Destroy Queue คือการล้างคิวทั้งหมด เหมือนลบทิ้งไป โดยจะได้คิวว่างมาเป็นผลลัพย์

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

DTS 06-04/08/2009

Lecture 4 : เรื่อง Stack


สแตก (Stack) เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ข้อมูลแบบลิเนียร์ลิสต์ ที่มีคุณสมบัติที่ว่า การเพิ่มหรือลบข้อมูลในสแตก จะกระทำที่ ปลายข้างเดียวกัน ซึ่งเรียกว่า Top ของสแตก (TopOf Stack) และ ลักษณะที่สำคัญของสแตก คือ ข้อมูลที่ใส่หลังสุดจะถูกนำออกมา จากสแตกเป็นลำดับแรกสุด เรียกคุณสมบัตินี้ว่า LIFO (Last In First Out)

การดำเนินงานพื้นฐานของสแตกการทำงานต่าง ๆ ของสแตกจะกระทำที่ปลายข้างหนึ่งของ สแตกเท่านั้น ดังนั้นจะต้องมีตัวชี้ตำแหน่งข้อมูลบนสุดของสแตกด้วยการทำงานของสแตกจะประกอบด้วยกระบวนการ 3 กระบวนการที่สำคัญ คือ

1.Push คือ การนำข้อมูลใส่ลงไปในสแตก เช่น สแตก s ต้องการใส่ข้อมูล i ในสแตก จะได้ push (s,i) คือ ใส่ข้อมูล i ลงไปที่ทอปของสแตก s ในการเพิ่มข้อมูลลงในสแตก จะต้องทำการตรวจสอบว่าสแตก เต็มหรือไม่ ถ้าไม่เต็มก็สามารถเพิ่มข้อมูลลงไปในสแตกได้ แล้วปรับตัวชี้ตำแหน่งให้ไปชี้ที่ตำแหน่งข้อมูลใหม่ ถ้าส
แตกเต็ม (Stack Overflow) ก็จะไม่สามารถเพิ่มข้อมูลเข้าไปในสแตกได้อีก

2. Pop คือ การนำข้อมูลออกจากส่วนบนสุดของสแตก เช่น ต้องการนำข้อมูลออกจากสแตก sไปไว้ที่ตัวแปร i จะได้ i = pop (s)
การนำข้อมูลออกจากสแตก ถ้าสแตกมีสมาชิกเพียง 1 ตัว แล้วนำสมาชิกออกจากสแตก จะเกิดสภาวะสแตก
ว่าง (Stack Empty) คือ ไม่มีสมาชิกอยู่ในสแตกเลย

แต่ถ้าไม่มีสมาชิกในสแตก แล้วทำการ pop สแตก จะทำให้ เกิดความผิดพลาดที่เรียกว่า Stack Underflowเพราะฉะนั้นก่อนนำข้อมูลออกจากสแตกจะต้องตรวจสอบ ก่อนว่าสแตกว่างหรือเปล่า จึงจะนำข้อมูลออกจากสแตกได้และ ปรับตัวชี้ตำแหน่งให้ไปชี้ตำแหน่งของข้อมูลที่ต่อจากข้อมูลที่ถูกนำ ออกไป

การแทนที่ข้อมูลของสแตก :
การแทนที่ข้อมูลของสแตกสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
1. การแทนที่ข้อมูลของสแตกแบบลิงค์ลิสต์

การแทนที่ข้อมูลของสแตกแบบลิงค์ลิสต์จะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ
1. Head Node จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ top pointer และจำนวนสมาชิกในสแตก
2. Data Node จะประกอบไปด้วยข้อมูล (Data) และพอยเตอร์ ที่ชี้ไปยังข้อมูล

การดำเนินการเกี่ยวกับสแตก :
การดำเนินการเกี่ยวกับสแตก ได้แก่
1. Create Stack 5. Empty Stack
2. Push Stack 6. Full Stack
3. Pop Stack 7. Stack Count
4. Stack Top 8. Destroy Stack

3. Pop Stack การนำข้อมูลบนสุดออกจากสแตก

4. Stack Top เป็นการคัดลอกข้อมูลที่อยู่บนสุดของสแตก โดยไม่มีการลบข้อมูลออกจากสแตก

5. Empty Stack เป็นการตรวจสอบการว่างของสแตก เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการนำข้อมูลออกจากสแตกที่ เรียกว่า " Stack Underflow "

6. Full Stack เป็นการตรวจสอบว่าสแตกเต็มหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการนำข้อมูลเข้าสแตกที่เรียกว่า " Stack Overflow "

7. Stack Count เป็นการนับจำนวนสมาชิกในสแตก

8. Destroy Stack เป็นการลบข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในสแตก
2. การแทนที่ข้อมูลของสแตกแบบอะเรย์

การดำเนินการเกี่ยวกับสแตก :
การดำเนินการเกี่ยวกับสแตก ได้แก่
1. Create Stack 5. Empty Stack
2. Push Stack 6. Full Stack
3. Pop Stack 7. Stack Count
4. Stack Top 8. Destroy Stack

การประยุกต์ใช้สแตก :
การประยุกต์ใช้สแตก จะใช้ในงานด้านปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ขั้นตอนการทำงานต้องการเก็บข่าวสารอันดับแรกสุดไว้ใช้หลังสุด เช่น การทำงานของโปรแกรมแปลภาษานำไปใช้ในเรื่องของการโปรแกรมที่เรียกใช้โปรแกรมย่อย การคำนวณนิพจน์ทางคณิตศาสตร์ และรีเคอร์ชั่น (Recursion)

ขั้นตอนการแปลงจากนิพจน์ Infix เป็นนิพจน์ :
Postfix ..
1. อ่านอักขระในนิพจน์ Infix เข้ามาทีละตัว
2. ถ้าเป็นตัวถูกดำเนินการจะถูกย้ายไปเป็นตัวอักษรในนิพจน์ Postfix
3. ถ้าเป็นตัวดำเนินการ จะนำค่าลำดับความสำคัญของตัว ดำเนินการที่อ่านเข้ามาเทียบกับค่าลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการที่อยู่บนสุดของสแตก
4. ตัวดำเนินการที่เป็นวงเล็บปิด “)” จะไม่ push ลงในสแตกแต่มีผลให้ตัวดำเนินการอื่น ๆ ถูก pop ออกจากสแตกนำไป เรียงต่อกันในนิพจน์ Postfix จนกว่าจะเจอ “(” จะ pop วงเล็บเปิดออกจากสแตกแต่ไม่นำไปเรียงต่อ
5. เมื่อทำการอ่านตัวอักษรในนิพจน์ Infix หมดแล้ว ให้ทำการ Pop ตัวดำเนินการทุกตัวในสแตกนำมาเรียงต่อในนิพจน์ Postfix

วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2552

DTS 05-28/07/2009


Lecture 7 : เรื่อง Linked List

ลิงค์ลิสต์ (Linked List) เป็นวิธีการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องของอิลิเมนต์ต่าง ๆ โดยมีพอยเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อแต่ละอิลิเมนท์ เรียกว่าโนด (Node) ซึ่งในแต่ละโนดจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือData จะเก็บข้อมูลของอิลิเมนท์ และส่วนที่สอง คือ Link Field จะทำหน้าที่เก็บตำแหน่งของโนดต่อไปในลิสต์
ในส่วนของ data อาจจะเป็นรายการเดี่ยวหรือเป็นเรคคอร์ดก็ได้ในส่วนของ link จะเป็นส่วนที่เก็บตำแหน่งของโหนดถัดไป ในโหนดสุดท้ายจะเก็บค่า Nullซึ่งไม่ได้ชี้ไปยังตำแหน่งใด ๆ เป็นตัวบอกการสิ้นสุดของลิสต์

ในลิงค์ลิสต์จะมีตัวแปรสำหรับชี้ตำแหน่งลิสต์ (List pointer variable) ซึ่งเป็นที่เก็บตำแหน่งเริ่มต้นของลิสต์ ซึ่งก็คือ : โหนดแรกของลิสต์นั่นเอง ถ้าลิสต์ไม่มีข้อมูล ข้อมูลในโหนดแรกของลิสต์จะเป็น Null



โครงสร้างข้อมูลแบบลิงค์ลิสต์ : จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

1. Head Structure จะประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่
- จำนวนโหนดในลิสต์ (Count)
-พอยเตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดที่เข้าถึง (Pos)
-พอยเตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดข้อมูลแรกของลิสต์ (Head)

2. Data Node Structure จะประกอบไปด้วยข้อมูล(Data) และพอยเตอร์ที่ชี้ไปยังข้อมูลตัวถัดไป

กระบวนงานและฟังก์ชั่นที่ใช้ดำเนินงานพื้นฐาน :
1. กระบวนงาน Create List

หน้าที่ : สร้างลิสต์ว่าง
ผลลัพธ์ : ลิสต์ว่าง


2. กระบวนงาน Insert Node

หน้าที่ : เพิ่มข้อมูลลงไปในลิสต์บริเวณตำแหน่งที่ต้องการ
ข้อมูลนำเข้า : ลิสต์ ข้อมูล และตำแหน่ง
ผลลัพธ์ : ลิสต์ที่มีการเปลี่ยนแปลง

3. กระบวนงาน Delete Node

หน้าที่ : ลบสมาชิกในลิสต์บริเวณตำแหน่งที่ต้องการ
ข้อมูลนำเข้า : ข้อมูลและตำแหน่ง
ผลลัพธ์ : ลิสต์ที่มีการเปลี่ยนแปลง

4. กระบวนงาน Search list

หน้าที่ : ค้นหาข้อมูลในลิสต์ที่ต้องการ
ข้อมูล : นำเข้าลิสต์
ผลลัพธ์ : ค่าจริงถ้าพบข้อมูล ค่าเท็จถ้าไม่พบข้อมูล

5. กระบวนงาน Traverse

หน้าที่ : ท่องไปในลิสต์เพื่อเข้าถึงและ
ประมวลผล : ข้อมูลนำเข้าลิสต์
ผลลัพธ์ : ขึ้นกับการประมวลผล เช่น เปลี่ยนแปลงค่าใน node ,
รวมฟิลด์ในลิสต์ ,คำนวณค่าเฉลี่ยของฟิลด์ เป็นต้น

6. กระบวนงาน Retrieve Node

หน้าที่ : หาตำแหน่งข้อมูลจากลิสต์
ข้อมูล : นำเข้าลิสต์
ผลลัพธ์ : ตำแหน่งข้อมูลที่อยู่ในลิสต์

7. ฟังก์ชั่น EmptyList

หน้าที่ : ทดสอบว่าลิสต์ว่างข้อมูลนำเข้า ลิสต์
ผลลัพธ์ : เป็นจริง ถ้าลิสต์ว่าง
เป็นเท็จ : ถ้าลิสต์ไม่ว่าง

8. ฟังก์ชั่น FullList

หน้าที่ : ทดสอบว่าลิสต์เต็มหรือไม่ข้อมูล
นำเข้า : ลิสต์
ผลลัพธ์ : เป็นจริง ถ้าหน่วยความจำเต็ม
เป็นเท็จ : ถ้าสามารถมีโหนดอื่น

9. ฟังก์ชั่น list count

หน้าที่ : นับจำนวนข้อมูลที่อยู่ในลิสต์
ข้อมูลนำ : เข้าลิสต์
ผลลัพธ์ : จำนวนข้อมูลที่อยู่ในลิสต์

Algorithm listCount (val pList )
Pre pList is a pointer to a valid list head structure
Return count for number of node in list
1. Return (pList->count)
End listCount

10. กระบวนงาน destroy list

หน้าที่ : ทำลายลิสต์
ข้อมูลนำเข้า : ลิสต์
ผลลัพธ์ : ไม่มีลิสต์

Linked List แบบซับซ้อน :

1. Circular Linked List เป็นลิงค์ลิสต์ที่สมาชิกตัวสุดท้ายมีตัวชี้ (list) ชี้ไปที่สมาชิกตัวแรกของลิงค์ลิสต์ จะมีการทำงานไปในทิศทางเดียวเท่านั้นคือเป็นแบบวงกลม

2. Double Linked List เป็นลิงค์ลิสต์ที่มีทิศทางการทำงานแบบ 2 ทิศทาง ในลิงค์ลิสต์แบบ 2 ทิศทาง ส่วนข้อมูลจะมีตัวชี้ไปที่ข้อมูล
ก่อนหน้า (backward pointer)
และตัวชี้ข้อมูลถัดไป (forward pointer)

วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS 04-20/07/2009

Lecture 3
เรื่อง Set and String



โครงสร้างข้อมูลแบบเซ็ต
เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ข้อมูลแต่ละตัวไม่มี ความสัมพันธ์กัน ในภาษาซี จะไม่มีประเภทข้อมูลแบบเซ็ตนี้เหมือนกับในภาษาปาสคาล แต่สามารถใช้หลักการของการดำเนินงานแบบเซ็ตมาใช้ได้

ตัวดำเนินการของเซ็ต (Set operators) ประกอบด้วย
- set intersection
- set union
- set difference เป็นต้น


สมมติว่า ต้องการจัดตารางเรียน 4 วิชา ได้แก่ Math, English,Physics และ Chemistry ให้กับผู้ลงทะเบียนเรียน

วิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้น
- จะต้องกำหนดเซ็ตของผู้เรียนที่ลงทะเบียนเรียนในแต่ละวิชา
- นำเซ็ตดังกล่าวที่ได้มาทำการ intersection กัน หากมีเซ็ตใดที่ทำการ intersect กันแล้ว มีข้อมูลสมาชิกในเซ็ตที่ซ้ำกันอยู่ จะไม่สามารถจัดให้วิชาดังกล่าวอยู่ในวันเวลาเดียวกันได้



โครงสร้างข้อมูลแบบสตริง
สตริง (String) หรือ สตริงของอักขระ (CharacterString) เป็นข้อมูลที่ประกอบไปด้วย ตัวอักษร ตัวเลขหรือเครื่องหมายเรียงติดต่อกันไป รวมทั้งช่องว่าง

การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับข้อมูลที่เป็นสตริง
มีการนำไปใช้สร้างโปรแกรมประเภทบรรณาธิการข้อความ(text editor) หรือโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ (word processing) ซึ่งมีการทำงานที่อำนวยความสะดวกหลายอย่างเช่น การตรวจสอบข้อความ การจัดแนวข้อความในแต่ละย่อหน้า และการค้นหาคำ เป็นต้น


สตริงกับอะเรย์
สตริง คือ อะเรย์ของอักขระเช่น char a[6] อาจจะเป็นอะเรย์ขนาด 6 ช่องอักขระ หรือ เป็นสตริงขนาด 5 อักขระก็ได้ โดยจุดสิ้นสุดของ string จะจบด้วย \0 หรือ null character
เช่น
char a[ ]={‘H’, ‘E’, ‘L’, ‘L’, ‘O’, ‘\0’};
char a[ ]=“HELLO”;



การกำหนดสตริง
การกำหนดสตริงทำได้หลายแบบ คือ
1. กำหนดเป็นสตริงที่มีค่าคงตัว (String Constants)
2. กำหนดโดยใช้ตัวแปรอะเรย์หรือพอยเตอร์



อะเรย์ของสตริง
ถ้าหากมีสตริงจำนวนมาก ก็ควรจะทำให้เป็นอะเรย์ของสตริง เพื่อที่จะเขียนโปรแกรมได้สะดวก การสร้างอะเรย์ของสตริง สามารถสร้างได้ทั้งแบบที่ให้ค่าเริ่มต้นและแบบที่กำหนดเป็นตัวแปร


การกำหนดตัวแปร country จะแตกต่างกับการกำหนดตัวแปรอะเรย์ เพราะเป็นการกำหนดตัวแปรพอย
เตอร์ขึ้น 4 ตัว โดยให้แต่ละตัวชี้ไปยังค่าคงตัวสตริงทั้ง4 ตัว โดยที่ contry[0] จะชี้ไปที่ข้อมูลแรก contry[1]จะชี้ข้อมูลที่สอง contry[2] จะชี้ข้อมูลที่สาม และcontry[3] จะชี้ข้อมูลตัวสุดท้าย
ในการเขียนค่าเริ่มต้น คือ ค่าคงตัวสตริง เขียนไว้ในเครื่องหมายวงเล็บปีกกา และข้อมูลในเครื่องหมาย
คำพูด คือ ค่าคงตัวสตริง



ฟังก์ชัน puts ( ) ใช้ในการพิมพ์สตริงออกทางจอภาพ โดยการผ่านค่าแอดเดรสของสตริงไปให้เท่านั้น
ข้อสังเกต
การกำหนดอะเรย์ของสตริงในลักษณะอย่างนี้ ไม่ใช่อะเรย์ที่แท้จริงตามหลักการของอะเรย์ เนื่องจากขนาดของช่องในอะเรย์ไม่เท่ากัน แต่อนุโลมให้ถือว่าเป็นอะเรย์




อะเรย์ของสตริงที่ยาวเท่ากันอะเรย์ในลักษณะนี้จะถือว่าเป็นอะเรย์ที่แท้จริงและสามารถกำหนดได้ทั้งเมื่อมีการให้ค่าเริ่มต้น และเมื่อกำหนดเป็นตัวแปร โดยดำเนินการตามแบบการกำหนดอะเรย์ 2 มิติ

เช่น
char fruit [3][7]={“Apple”, “Orange”, “Mango”};



กำหนดตัวแปร fruit เป็นแบบ 3 แถว 7 คอลัมน์ ในแต่ละช่องจะเก็บข้อมูลแบบอักขระอะเรย์ของสตริงที่ยาวเท่ากัน อะเรย์ในลักษณะนี้จะถือว่าเป็นอะเรย์ที่แท้จริง และสามารถกำหนดได้ทั้งเมื่อมีการให้ค่าเริ่มต้น และเมื่อกำหนดเป็นตัวแปร โดยดำเนินการตามแบบการกำหนดอะเรย์ 2 มิติ



สิ่งที่ได้รับจากการเรียน : ได้ทราบถึงการนำ Set และ String สามารถนำมาใช้กับ อะเรย์ ได้

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

DTS 03-30/06/2009

สรุปการเรียนรู้ : Lecture 2 เรื่อง "Array and Record"

Array : อะเรย์เป็นโครงสร้างข้อมูลที่เรียกว่า Linear List มีลักษณะ คล้ายเซ็ตในคณิตศาสตร์ คือ อะเรย์จะประกอบด้วยสมาชิกที่มีจำนวน คงที่ มีรูปแบบข้อมูลเป็นแบบเดียวกัน สมาชิกแต่ละตัวใช้เนื้อที่จัดเก็บ ที่มีขนาดเท่ากัน เรียงต่อเนื่องในหน่วยความจำหลัก

การประกาศอาร์กิวเมนต์ในฟังก์ชันเป็นอะเรย์ ถ้าเป็นอะเรย์มิติเดียว สามารถทำได้ทั้งหมด 3 วิธี
1. มีการประกาศขนาดของอะเรย์ที่ทำหน้าที่ในการรับค่า
2. ไม่ต้องมีการประกาศขนาดของอะเรย์ที่ทำหน้าที่ในการรับค่า
3. ตัวแปรที่ทำหน้าที่รับค่าถูกกำหนดเป็นพอยน์เตอร์

การกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับสมาชิกของ structure
สามารถกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับสมาชิกของ structure ได้โดยค่าเริ่มต้นที่จะกำหนดให้กับสมาชิกตัวใด จะต้องอยู่ในตำแหน่งที่ตรงกับสมาชิกตัวนั้นค่าเริ่มต้นจะต้องอยู่ในวงเล็บปีกกาและข้อมูลค่าเริ่มต้นแต่ละตัวแยกกันด้วยเครื่องหมาย ,

ตัวอย่าง !
structure account ประกอบด้วยสมาชิก ดังนี้
- เลขจำนวนเต็ม (int acct_no)
- อะเรย์ของอักขระจำนวน 30 ตัว (char name[30]);
- structure date

การผ่าน structure ให้ฟังก์ชัน
ประเภทของการส่งผ่าน structureให้ฟังก์ชันนั้น มี 2 ประเภท คือ
1. ส่งสมาชิกแต่ละตัวของ structure
สมาชิกแต่ละตัวของ structure สามารถส่งเป็นอาร์กิวเมนต์ ของฟังก์ชันและส่งกลับจากฟังก์ชันได้โดยใช้คำสั่ง return ซึ่งมีทั้งการส่งค่าของตัวแปรที่อยู่ในตัวแปรstructure และก็ส่งตำแหน่งที่อยู่ของตัวแปรนั้น ๆ ไปยังฟังก์ชัน
2. ส่งทั้ง structure
จะส่งผ่านในลักษณะของพอยน์เตอร์ไปยัง structureโดยหลักการจะเหมือนกับการส่งผ่านอะเรย์ไปให้ฟังก์ชัน ซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่าPass by reference

Pointer : เป็นตัวแปรชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บตำแหน่งที่อยู่ (Address) ของตัวแปรที่อยู่ในหน่วยความจำการประกาศชนิดของตัวแปรพอยน์เตอร์รูปแบบ
type *variable-name
type หมายถึง ชนิดของตัวแปร

* หมายถึง เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่า ตัวแปรที่ ตามหลังเครื่องหมายนี้เป็นตัวแปรพอยน์เตอร์
ส่วน variable-name เป็นชื่อของตัวแปรที่ต้องการประกาศว่าเป็นชนิดพอยน์เตอร์
********************************************************
สิ่งที่ได้รับจากการเรียนครั้งนี้ : ทราบถึงการทำงานของ Array และการกำหนดค่าของ structure และอาจารย์ยังทบทวนการวน loob ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552

DTS 02-23/06/2009

#include "stdio.h"
#include "string.h"
void main()
{
struct Telephone
{
char brand[20];
char model[30];
char type[20];
char camera [30];
int code_member;
char color[15];
float price;
float discount;
}sale;
strcpy(sale.brand,"Nokia");
strcpy(sale.model,"5310 Xpress Music");
strcpy(sale.type,"Telephone");
strcpy(sale. camera," 2 million pixels");
sale.code_member=12234;
strcpy(sale.color,"black");
sale.price=9460;
sale.discount=450;
printf("Brand:%s\n",sale.brand);
printf("Model:%s\n",sale.model);
printf("Type:%s\n",sale.type);
printf("Camera:%s\n",sale.camera);
printf("Code_Member:%d\n",sale.code_member);
printf("Color:%s\n",sale.color);
printf("Price:%.2f\n",sale.price);
printf("Discount:%.2f\n",sale.discount);
}




สิ่งที่จากการเรียนวิชาโครงสร้างข้อมูล คือ ได้เรียนรู้และทราบถึงชนิดของข้อมูล และโครงสร้างข้อมูล และยังได้ทบทวบเกี่ยวกับภาษาซี

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

DTS 01-16/06/2009

ชื่อ สมฤทัย ชมภูนุช รหัสประจำตัว 50132792039

Miss. Somlutai Chompunuch

หลักสูตร การบริหารธุรกิจ (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) คณะวิทยาการจัดการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

E-mail : u50132792039@gmail.com