วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

DTS 03-30/06/2009

สรุปการเรียนรู้ : Lecture 2 เรื่อง "Array and Record"

Array : อะเรย์เป็นโครงสร้างข้อมูลที่เรียกว่า Linear List มีลักษณะ คล้ายเซ็ตในคณิตศาสตร์ คือ อะเรย์จะประกอบด้วยสมาชิกที่มีจำนวน คงที่ มีรูปแบบข้อมูลเป็นแบบเดียวกัน สมาชิกแต่ละตัวใช้เนื้อที่จัดเก็บ ที่มีขนาดเท่ากัน เรียงต่อเนื่องในหน่วยความจำหลัก

การประกาศอาร์กิวเมนต์ในฟังก์ชันเป็นอะเรย์ ถ้าเป็นอะเรย์มิติเดียว สามารถทำได้ทั้งหมด 3 วิธี
1. มีการประกาศขนาดของอะเรย์ที่ทำหน้าที่ในการรับค่า
2. ไม่ต้องมีการประกาศขนาดของอะเรย์ที่ทำหน้าที่ในการรับค่า
3. ตัวแปรที่ทำหน้าที่รับค่าถูกกำหนดเป็นพอยน์เตอร์

การกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับสมาชิกของ structure
สามารถกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับสมาชิกของ structure ได้โดยค่าเริ่มต้นที่จะกำหนดให้กับสมาชิกตัวใด จะต้องอยู่ในตำแหน่งที่ตรงกับสมาชิกตัวนั้นค่าเริ่มต้นจะต้องอยู่ในวงเล็บปีกกาและข้อมูลค่าเริ่มต้นแต่ละตัวแยกกันด้วยเครื่องหมาย ,

ตัวอย่าง !
structure account ประกอบด้วยสมาชิก ดังนี้
- เลขจำนวนเต็ม (int acct_no)
- อะเรย์ของอักขระจำนวน 30 ตัว (char name[30]);
- structure date

การผ่าน structure ให้ฟังก์ชัน
ประเภทของการส่งผ่าน structureให้ฟังก์ชันนั้น มี 2 ประเภท คือ
1. ส่งสมาชิกแต่ละตัวของ structure
สมาชิกแต่ละตัวของ structure สามารถส่งเป็นอาร์กิวเมนต์ ของฟังก์ชันและส่งกลับจากฟังก์ชันได้โดยใช้คำสั่ง return ซึ่งมีทั้งการส่งค่าของตัวแปรที่อยู่ในตัวแปรstructure และก็ส่งตำแหน่งที่อยู่ของตัวแปรนั้น ๆ ไปยังฟังก์ชัน
2. ส่งทั้ง structure
จะส่งผ่านในลักษณะของพอยน์เตอร์ไปยัง structureโดยหลักการจะเหมือนกับการส่งผ่านอะเรย์ไปให้ฟังก์ชัน ซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่าPass by reference

Pointer : เป็นตัวแปรชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บตำแหน่งที่อยู่ (Address) ของตัวแปรที่อยู่ในหน่วยความจำการประกาศชนิดของตัวแปรพอยน์เตอร์รูปแบบ
type *variable-name
type หมายถึง ชนิดของตัวแปร

* หมายถึง เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่า ตัวแปรที่ ตามหลังเครื่องหมายนี้เป็นตัวแปรพอยน์เตอร์
ส่วน variable-name เป็นชื่อของตัวแปรที่ต้องการประกาศว่าเป็นชนิดพอยน์เตอร์
********************************************************
สิ่งที่ได้รับจากการเรียนครั้งนี้ : ทราบถึงการทำงานของ Array และการกำหนดค่าของ structure และอาจารย์ยังทบทวนการวน loob ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552

DTS 02-23/06/2009

#include "stdio.h"
#include "string.h"
void main()
{
struct Telephone
{
char brand[20];
char model[30];
char type[20];
char camera [30];
int code_member;
char color[15];
float price;
float discount;
}sale;
strcpy(sale.brand,"Nokia");
strcpy(sale.model,"5310 Xpress Music");
strcpy(sale.type,"Telephone");
strcpy(sale. camera," 2 million pixels");
sale.code_member=12234;
strcpy(sale.color,"black");
sale.price=9460;
sale.discount=450;
printf("Brand:%s\n",sale.brand);
printf("Model:%s\n",sale.model);
printf("Type:%s\n",sale.type);
printf("Camera:%s\n",sale.camera);
printf("Code_Member:%d\n",sale.code_member);
printf("Color:%s\n",sale.color);
printf("Price:%.2f\n",sale.price);
printf("Discount:%.2f\n",sale.discount);
}




สิ่งที่จากการเรียนวิชาโครงสร้างข้อมูล คือ ได้เรียนรู้และทราบถึงชนิดของข้อมูล และโครงสร้างข้อมูล และยังได้ทบทวบเกี่ยวกับภาษาซี

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

DTS 01-16/06/2009

ชื่อ สมฤทัย ชมภูนุช รหัสประจำตัว 50132792039

Miss. Somlutai Chompunuch

หลักสูตร การบริหารธุรกิจ (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) คณะวิทยาการจัดการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

E-mail : u50132792039@gmail.com